zwani.com myspace graphic comments
รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันที่ 24 มิถุนายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
                       วันนี้อาจารย์ได้แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 6 คน จำนวน 6 กลุ่มแล้วให้อ่านใบความรู้โดยแต่ละกลุ่มจะมีหัวข้อที่ต้องรับผิดชอบเพื่อนำไปอธิบายให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟังแต่ทุกกลุ่มจะต้องอ่านใบความรู้ทุกหัวข้อจากนั้ันให้สรุป  โดยมีหัวข้อดังนี้
     1.ความหมายทางวิทยาศาสตร์
     2,ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     3.ทฤษฎีทางสติปัญญา
     4.การเรียนรู้
     5.แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
     6.กระบวนการทางวิทยาศาตร์
                      โดยกลุ่มของดิฉันได้สรุปเรื่อง  ความหมายทางวิทยาศาสตร์และ  เรื่องความสำคัญของวิทยาศาสตร์

                     สรุปเนื้อหาทั้งหมด
                     1.ความหมายของวิทยาศาสตร์
พจนานุกรมได้ให้ความหมาย  คือความรู้ที่ได้จากการสังเกต  ค้นคว้าแล้วจัดเป็นระเบียบ มีเหตุผล  หลักการ
                     2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ทำใ้ห้พัฒนาคนแล้วจึงจะทำหน้าที่พัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดนวัตรกรรมใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์
                     3.ทฤษฎีทางสติปัญญา
เป็นความสามารถด้านความคิดซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากัน  การเรียนรู้จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะทำให้เด็กรู้ว่าจะรู้ได้อย่างไร
                      กระบวนการการมีปฏิสัมพันธ์มี 2 องค์ประกอบ
                      -กระบวนการดูดซึม ( Assimilation )  คือ  การที่มนุษย์มรประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมมีการใช้ประสาทสัมผัสผ่านการทำงานของสมอง
                      -การเปลียนโครงสร้าง ( Accomodation ) คือ  การเปลี่ยนประสบกาณ์ก็ทำให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและเปลี่ยนความคิดใ้ห้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม
                      4.การเรียนรู้
การเรียนู้เกิดจากสมองเป็นตัวสั่งการโดยการทำงานของสมองจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีเส้นประสาทเป็นล้านๆ เซล์ล
                      5.แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
เกรก คือผู้ที่แบ่งแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น  5  ประการดังนี้
                       -การเปลี่ยนแปลง ( Change )  คือ  มีการเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
                       -ความหลากหลาย ( Variety ) คือ  ความแตกต่างของทุกสิ่งทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
                       -การปรับตัว ( Adjustment ) คือ  การปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อม
                       -การพึ่งพา ( Dependence )   คือทุกสิ่งทุกอย่างยอมมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
                       -การปรับสมดุล ( Equilibrium ) คือการต่อสู้เพื่อดำรงชีพและเผ่าพันธุ์
                    6.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                              6.1  การกำหนดปัญหา
                              6.2  การตั้งสมมุติฐาน
                              6.3  การทดลอง
                              6.4  การเก็บข้อมูล
                              6.5  การสรุปผล

กิจกรรม
               อาจารย์ให้ดูวิดิโอเกี่ยวกับเรื่องอากาศ  ซึ่งวิดีโอจะบอกที่มาของอากาศ  ลักษณะของอากาศ  สถานะของอากาศ  และมีตัวอย่างการทดลองอากาศ  เช่น  การเอากระดาษใส่ถ้วยแล้วคว่ำ
การทดลองที่ทำให้ไม่ไหล  เพราะมีอากาศมาดันไว้   การชั่งน้ำหนักของลูกโป่งที่มีขนาดเท่ากัน


สรุปองค์ความรู้


กำลังสรุปความรู้ที่ได้จากใบความรู้

*หมายเหตุ  ถ้าต้องการได้รูปภาพขนาดใหญ่คลิกทีรูปภาพ

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันที่ 17 มิถุนายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
                     วันนี้อาจารย์นิเทศการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (Science Experiences Management for Early Childhood)    โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรม
                     1.อาจารย์ให้เขียนคิดว่าจะได้อะไรจากวิชานี้  ซึ่งดิฉันได้เขียนดังนี้
                                             -ได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมีการสอนในเรื่องใดบ้าง
                                             -ได้รู้วิธีการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
                                             -ได้ทำสื่อวิทยาศาสตร์
งานที่ได้รับมอบหมาย
                    1.ทำ Blog  โดยส่วนไหนที่ใส่ภาษาอังกฤษได้ใ้ห้ใส่
                    2.ใส่แผนการเรียนใน blog