zwani.com myspace graphic comments
รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

              สรุปองค์ความรู้งานวิจัย  เรื่อง  ผลของการจัดกิจกรรมเล่นเกมและพฤติกรรมารส่งเสริมการเล่นของบิดามารดาที่ต่อกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันที่ 30 กันยายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
                   วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอที่ยังไม่ได้นำเสนอ  ดังนี้

การทดลองย้อมผ้า
การทดลองการไหนของน้ำ

การทดลองปัดมะนาวตก

การทดลองทีเด็ดน้ำยาล้างจาน

การทดลองแรงดันน้ำอัดลม

การทดลองสบู่ชุบพริกไทย

การทดลองลาวา

การทดลองไข่ไม่แตก


สื่อเข้ามุม   หีบสมบัติ


สื่อเข้ามุม  กล้องส่องรุ้ง

สื่อเข้ามุม   จับคู่เสียงหรรษา

สือเข้ามุม   ลูกข่างรูปทรง

สื่อเข้ามุม   เครื่องจักรลม

สื่อเข้ามุม   รถขวดน้ำ

สื่อเข้ามุม   ตกปลา

สื่อเข้ามุม   เงาอะไรเอ่ย

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 23 กันยายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
                      วันนี้อาจารย์ให้ทำการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร  ซึ่งได้ทำ  ข้าวพัด

ก่อนทำกิกจกรรม  

ข้าวพัดของพวกเราเสร็จแล้วค่ะ


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 16 กันยายน 2556

เนื้อหาทีเรียน
                      วันนี้อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษานำงานทั้งหมดที่ยังไม่ได้นำเสนอมาเสนอในวันที่  30 กันยายน  2556   จากนั้ันอาจารย์ได้มอบหมายให้อาจารย์เบียรืสอนนักศึกษาเรื่อง  การทำ Cooking

สรุปองค์ความรู้เรื่อง  การจัดกิจกรรม cooking 
อาจารย์เบียรให้จับกลุ่มกลุ่มละ 5-10 คน  จากนั้ันให้ประชุมกันเพื่อเลือกอาหารที่จะนำเสนอ  โดยมีดังนี้
กลุ่มหยก    วุ้นมะพร้าว
กลุ่มเฟิร์น   ข้าวผัด
กลุ่มนุ่น       แซนวิชไข่
กลุ่มแอม     แกงจืดหมูสับ
กลุ่มดิฉัน    ไข่ตุ่น

กระดาษแผ่นที่  1

ไข่ตุ๋นแฟนซี


กระดาษแผ่นที่ 2

ขั้นตอนการทำไข่ตุ๋น
กระดาษแผ่นที่ 3

การจัดประสบการณ์ให้เด็ก

งานที่ได้รับมอบหมาย
               ให้กลุ่มที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดเตรียมอุปกรณ์การทำ cooking มาในสัปดาห์หน้า

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 9 กันยายน 2556

                 เนื่องจากอาจารย์ไปราชการจังหวัดสระบุรี  จึงไม่มีการเรียนการสอน

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 8 กันยายน 2556 เรียนชดเชย

เนื้อหาที่เรียน
                       วันนี้อาจารย์ให้ส่งสื่อเข้ามุม  ซึ่งสื่อเข้ามุมของกลุ่มดิฉันคือ  วัฏจักรการเกิดฝน
    อุปกรณ์
1.กล่องกระดาษ
2.โฟม
3.กระดาษสี
4.ทิชชู่
5.กาว
6.กระดาษฟอล์ย
7.แผ่นใส
8.ไม่ตะเกียบ

   วิธีทำ
-ขั้้นตอนการทำเรื่องที่ต้องการ   คือ  สามารถตกแต่งฐานได้ตามที่ต้องการตามจินตนาการ
-ขั้ันตอนการทำฐานกล่อง
1.ตัดโฟมให้มีขนาดพอกล่องโดยทำเป็นบล็อกเพื่อเสียบฐานที่้ต้องการสอน
2.ห่อกล่องกระดาษด้านในด้วยกระดาษฟอล์ยทั้งหมด
3.ห่่อกล่องกระดาษด้านนอกด้วยกระดาษสีที่หลากหลายสี  โดยขยำกระดาษก่อน
4.เจาะรูตรงกลางด้านหลังกล่องขนาดเส้นรอบวง  14 เซนติเมตร
-ขั้ันตอนการทำวงล้อหมุน
1.ตัดแผ่นใส่เปนรูปวงกลมขนาดเส้นรอบวง  13 เซนติเมตร  จากนั้นเจาะรูครงกลางของแผ่นใส
2.ติดลูกศรที่ทำจากเปเปอร์มาเช่  จำนวน 3 ชิ้นให้มีระยะห่างกัน 2 เซนติเมตร
3..ตัดไม้ตะเกียบยาวขนาด 5 เซนติเมตร
4.เสียบไม้ตะเกียบที่รูตรงกลางแผ่นใส
5.ติดหัวไม้ตะเกียบด้วยกระดาษฟอยล์ ให้มีขนาดใหญ่กว่าไม้ตะเกียบเพื่อไม่ให้หลุด
6.เสียบไม้ตะเกียบที่ติดแผ่นใสลงบนฉากที่เจาะรูตรงกลางโดยห่างจากฉาก 1.5   เซนติเมตร   และติดกาวร้อนเพื่อไม่ให้ ไม้ตะเกียบหลุด
7.ติดกาวร้อนที่ไม้ตะเกียบส่วนที่อยู่ด้านหลังฉากโดยห่างจากฉาก 1 เซนติเมตร
8.ติดลูกศรลงบนแผ่นใสจำนวน   3   ชิ้น   โดยให้มีระยะห่างกันประมาณ   2  เซนติเมตร
      ความคิดรวบยอด           สอนเรื่องการเกิดฝน


  
    

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 2 กันยายน 2556

             เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมจึงไม่มีการเรียนการสอน
ดิฉันจึงหาข้อมูลเพิ่มเติม  บทความเรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์
    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
    1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
    1. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
    1. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    1. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
    1. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
    1. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
    1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
ที่มา :  http://www.e-child-edu.com